VBA
About us
Self-study
TEST
Online Courses
blog
Lecturer
Questionnaire
ThailandSmokingCessation
DM & Tobacco Control (Post-Test)
รายละเอียด
Post-Test
1. คำถามข้อใดต่อไปนี้สามารถใช้ประเมินภาวะเสพติดนิโคตินได้ดีที่สุด
ท่านรู้สึกกังวลมากไหมในการเลิกบุหรี่ครั้งนี้
ท่านสูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนตอนเช้านานแค่ไหน
ท่านยังต้องสูบบุหรี่ แม้ว่าจะต้องนอนเจ็บป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลบ้างไหม
ท่านรู้สึกอึดอัดกระวนกระวาย หรือลำบากใจไหม ที่ต้องอยู่ในเขต “ปลอดบุหรี่” เช่น โรงภาพยนตร์ รถโดยสาร
2. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการทำ Brief advise แก่ผู้ป่วยภาวะ Nicotine dependence
เลือกวัน ลั่นวาจา ลาอุปกรณ์ พร้อมลงมือ
สอบถาม (ถามใจตนเอง) บำบัด และหมั่นดูแลสุขภาพ
รักตนเอง รักคนรอบข้าง รักสุขภาพ
ไม่เข้ากลุ่ม ไม่ดื่ม ไม่นิ่งเฉย
3. ข้อต่อไปนี้ถูกต้องในเรื่องบุหรี่กับเบาหวานยกเว้นข้อใด
การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา
บุหรี่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น
ผู้เป็นเบาหวานที่สูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
การเลิกบุหรี่มีผลให้น้ำหนักตัวลดลง
4. การเลิกบุหรี่อยู่ในหมวดการให้ความรู้ผู้เป็นเบาหวานในข้อใด
Monitoring
Reducing risk
Problem solving
Healthy coping
5. เมื่อหยุดสูบบุหรี่ ความเสี่ยงในข้อใดต่อไปนี้จะลดลงจนเทียบเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่ช้าที่สุด
ความดันโลหิต
เบาหวาน
สมรรถภาพปอด
โรคหลอดเลือดสมองตีบ
6. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5 ตอนที่ 3 กระบวนการดูแลผู้ป่วย กำหนดให้มี
ประเมินประวัติการสูบบุหรี่
บันทึกการวินิจฉัยโรคภาวะติดนิโคตินกรณีที่ผู้ป่วยสูบบุหรี่และอธิบายผลการวินิจฉัยแก่ผู้ป่วย ด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย
กรณีผู้ป่วยสูบบุหรี่วางแผนการเลิก ดำเนินการตามแผนและติดตามผล
ถูกทุกข้อ
7. บริการเลิกบุหรี่ที่ประสบความสำเร็จจะต้อง
กำหนดให้จิตแพทย์ดำเนินการทุกขั้นตอน
มีแพทย์และทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาล/สถานบริการสุขภาพดำเนินงานร่วมกันและร่วมกับภาคีเครือข่ายภายนอก
เน้นการให้บริการที่แผนกอายุรกรรม
ให้ความสำคัญเฉพาะผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอกเป็นหลัก
8. หลักสำคัญในการช่วยเลิกบุหรี่คือข้อใด
เสริมแรงจูงใจ ให้ความรู้ที่ครอบคลุมและให้กำลังใจ
ชื่นชมให้กำลังใจ ให้คำสัญญา ให้ช่องทางการติดต่อที่สะดวก
หาแรงจูงใจ ให้ความรู้ที่เจาะจงและให้กำลังใจต่อเนื่อง
ค้นหาแรงจูงใจ ประคับประคองให้กำลังใจและติดตามต่อเนื่อง
9. ผู้ป่วยมาคลินิกเบาหวานตามนัดครั้งที่ 1 ท่านจะชวนให้เลิกบุหรี่ อย่างไร
คุณต้องเลิกบุหรี่แล้วนะ หากไม่อยากไตวาย
หากยังไม่เลิกบุหรี่ คุณจะต้องกินยาเบาหวานไปตลอดชีวิต
การเลิกบุหรี่จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น
หากเลิกบุหรี่ได้จะช่วยให้คุมน้ำตาลได้ดีขึ้น
10. ผู้ป่วยเบาหวานถามว่าหากเลิกบุหรี่ได้ เบาหวานจะหายไหม ท่านจะตอบข้อใด
หากเลิกบุหรี่ได้ จะไม่ต้องเสียเวลามาโรงพยาบาลบ่อยๆ
หากเลิกบุหรี่ได้ จะไม่ต้องใช้ยารักษาเบาหวานอีกต่อไป
หากเลิกบุหรี่ได้ จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
หากเลิกบุหรี่ได้ สุขภาพจะดีขึ้น จะใช้ชีวิตเป็นปกติเหมือนไม่เป็นเบาหวาน
ส่งคำตอบ
TOP