VBA
About us
Self-study
TEST
Online Courses
blog
Lecturer
Questionnaire
ThailandSmokingCessation
TCP (Post-Test)
รายละเอียด
แบบทดสอบฉบับนี้มีทั้งหมด 20 ข้อคำถาม ระยะเวลาทำแบบสอบ 30 นาที ผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบจะต้องตอบถูกจำนวน 16 ข้อขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนข้อคำถามทั้งหมด ทุกครั้งในการทำแบบทดสอบจะถูกบันทึกเป็นประวัติการทำแบบทดสอบของท่าน ท่านสามารถทำแบบทดสอบได้จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ ท่านที่ผ่านเกณฑ์ สามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรได้จำนวน 1 ครั้ง และใบประกาศนียบัตรนี้มีอายุการใช้งานภายในระยะเวลา 2 ปี
1. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์การควบคุมยาสูบในประเทศไทย
การควบคุมยาสูบในประเทศไทยได้ผลสำเร็จอย่างสูง โดยเฉพาะบริการเลิกบุหรี่
ปัจจุบัน มีผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น ประมาณ 20 ล้านคน
คนไทยมีอัตราการบริโภคยาสูบโดยเฉลี่ยร้อยละ 19
ผู้บริโภคยาสูบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
ในประเทศไทยมีความนิยมใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากในช่วงวัย 55-65 ปี
2. ทุกจุดที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ ท่านมีส่วนช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้อย่างไร
สอดแทรก 5R ในงานประจำ
สอดแทรก 5D ในงานประจำ
สอดแทรก 5A ในงานประจำ
สอดแทรก STAR ในงานประจำ
สอดแทรก QUIT ในงานประจำ
3. โรคใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเสพนิโคติน
Psoriasis
Premature Birth
Impotence
มะเร็งปากมดลูก
TB
4. ในการลดละเลิกการเสพนิโคตินได้นั้น สมุนไพรชนิดใดที่มีผลต่อการช่วยเลิกบุหรี่
มะนาว
กานพลู
ถั่งเช่า
มะม่วงหาวมะนาวโห่
หญ้าดอกขาว
5. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับควันบุหรี่มือสอง
เกิดจากควันบุหรี่ปลายมวน รวมกับควันที่ผู้สูบพ่นออกมา
สามารถก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
ควันบุหรี่มือสองมีระดับสารไนโตรซามีนสูงกว่าควันบุหรี่มือหนึ่ง
ควันบุหรี่มือสองเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดควันบุหรี่มือสามต่อไป
ถูกทุกข้อ
6. ข้อใดต่อไปนี้เป็นอาการที่เกิดจากอาการถอนนิโคติน
อยากอาหาร กินเก่ง
นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก
หงุดหงิด ก้าวร้าว
ซึมเศร้า
ถูกทุกข้อ
7. คำถามในข้อใดต่อไปนี้ สามารถใช้ในการประเมินความรุนแรงในการเสพติดนิโคตินได้ดีที่สุด
ท่านสูบบุหรี่วันละกี่มวน
ท่านมักจะสูบบุหรี่มวนแรก หลังตื่นนอนตอนเช้านานแค่ไหน
ท่านอยากเลิกบุหรี่ภายใน 1 เดือนข้างหน้าหรือไม่
ท่านคิดว่าท่านมีโอกาสที่จะเลิกบุหรี่สำเร็จไหม
ท่านเคยเลิกบุหรี่มาก่อน แล้วกี่ครั้ง
8. ผู้ใดต่อไปนี้มีโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จสูงสุด
ที่มักสูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนแล้วราว 2-3 ชั่วโมง
ผู้ที่สูบบุหรี่ 30 มวนต่อวัน
ผู้ที่เคยเลิกผู้ที่เคยเลิกบุหรี่มาแล้วหลายครั้งบุหรี่มาแล้วหลายครั้ง
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า
9. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง ในการผลักดันให้การบำบัดโรคเสพยาสูบประสบความสำเร็จ
มีนโยบายจากผู้บริหารสูงสุด
มีการทำงานร่วมกันโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
มีการประเมินผลลัพธ์ & Feedback
มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันการสูบบุหรี่
ถูกทุกข้อ
10. ท่านจะประสานกับศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (1600) เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ในหน่วยงานของท่านได้อย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
ส่งต่อ case ที่เลิกบุหรี่ได้ยาก เช่นผู้ที่มีอาการ และ / หรือ อยู่ระหว่างรับการรักษา ภาวะทางจิตรุนแรง, ภาวะเสพติดสุราเรื้อรัง เป็นต้น
ส่งต่อ case ผู้ป่วย ยินดีจะรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์
ส่งต่อ case ที่ท่านให้คำปรึกษาเบื้องต้น และแจ้งให้ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ร่วมให้คำปรึกษาพร้อมติดตามผลร่วมกันจนครบ 1 ปี
ส่งต่อ case ที่เลิกสูบบุหรี่ทุกราย ที่ท่านต้องการให้ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ติดตาม
แนะนำ case ให้ใช้เป็นทางเลือกเพื่อปรึกษาเลิกบุหรี่ ในรายที่ยังไม่พร้อมเลิกบุหรี่ตอนนี้
11. ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases/NCD)
Smoking
Vaping
Sedentary life
Alcohol drinking
ถูกทุกข้อ
12. การเสพติดยาสูบเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ยกเว้น
ความอยากทดลองของใหม่
กลุ่มเพื่อนชักชวน
ปฏิกิริยาทางเคมีของสารโดปามีนในสมอง
ความเคยชินจนเป็นนิสัย
นโยบายการเก็บภาษียาสูบ
13. ชายไทย 15 ปี ให้ประวัติสูบวันละ 5-10 มวนทุกวันนาน 3 ปี โดยจะไปสูบกับเพื่อนๆ ในห้องน้ำ ตอนหลังเลิกเรียน ท่านจะให้การบำบัดอย่างไร
แนะนำให้โทรติดต่อ 1600
ให้คำแนะนำแบบสั้นในการหลีกเลี่ยงกลุ่มเพื่อนเดิม และรู้จักปฏิเสธเพื่อน
แนะนำให้ไปคลินิกฟ้าใส
แนะนำเทคนิครับมืออาการถอนนิโคติน
แนะนำใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่
14. ท่านซักประวัติความเจ็บป่วยผู้ป่วยรายหนึ่ง พบว่า มีอาการไอ และสูบบุหรี่ ผู้ป่วยยังไม่คิดจะเลิกบุหรี่ตอนนี้ ท่านจะแนะนำผู้ป่วยอย่างไรเพื่อให้เลิกบุหรี่
“คุณมีอาการไอ และมีประวัติสูบบุหรี่นี่นะ เลิกบุหรี่เถอะนะ ถ้าคุณอยากเลิกบุหรี่เมื่อไรมาพบท่านที่นี่นะ”
“คุณเอาเอกสารนี้ไปอ่านนะเผื่อจะทำให้คุณคิดอยากเลิกบุหรี่”
“ คุณควรเลิกบุหรี่เพราะคุณมีอาการไอแล้ว”
“ คุณลองเลิกบุหรี่ดูนะ ถึงเวลาต้องเลิกแล้ว”
“ท่านขอส่งคุณไปคลินิกเลิกบุหรี่นะ”
15. ท่านส่วนใหญ่รู้สึกท้อเมื่อพบว่าผู้ป่วยที่เลิกสูบบุหรี่แล้วกลับมาสูบบุหรี่อีก ที่ท่านรู้สึกเช่นนี้เป็นเพราะเหตุใด
เพราะท่านคิดว่าผู้ป่วยจิตใจไม่เข้มแข็ง
เพราะรู้สึกว่าทำไมผู้ป่วยไม่รักตนเอง
เพราะท่านไม่เข้าใจลักษณะของการสูบบุหรี่หรือยาสูบที่เป็นโรคเรื้อรัง
เพราะคิดว่าการบำบัดครั้งเดียวทำให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้ตลอดไป
เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้
16. ท่านจะแนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่สามีไม่เลิกสูบบุหรี่อย่างไรเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ลดการได้รับควันบุหรี่มือสอง
บอกให้หญิงตั้งครรภ์พาสามีมาพบท่านเพื่อให้คำแนะนำสามีให้เลิกบุหรี่
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์บอกให้สามีเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพของลูก
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์บอกสามีให้สูบบุหรี่นอกบ้าน
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์บอกให้สามีเลิกบุหรี่เพื่อสามีจะได้เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกในอนาคต
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์จัดบ้านให้มีการระบายอากาศที่ดี
17. ท่านให้คำปรึกษาผู้ป่วยรายหนึ่งให้เลิกบุหรี่ได้ เมื่อติดตามใน 1 เดือน หลังเลิกบุหรี่ พบว่าผู้ป่วยกลับมาสูบบุหรี่ใหม่หลังเลิกสูบไป 2 สัปดาห์ และบอกว่าสูบแค่ 3มวน น้อยกว่าเดิม ท่านจะพูดกับผู้ป่วยรายนี้อย่างไร เพื่อให้มีแรงจูงใจ สู้กลับมาเลิกบุหรี่อีกครั้ง.
“เลิกได้ 2 สัปดาห์ก็ดีนะ แต่จะดีมากเลยถ้าไม่สูบอีกเลย เรามาช่วยกันใหม่นะ เพราะตอนนี้สู้กับเลิกบุหรี่ 3 มวนที่น้อยกว่าเลิกครั้งที่แล้ว”
“มาดูซิว่าอะไรทำให้คุณกลับมาสูบบุหรี่ใหม่ เพื่อจะได้ช่วยกัน เริ่มต้นใหม่นะ”
“ เริ่มต้นใหม่นะ คนส่วนใหญ่ก็เลิกบุหรี่หลายครั้ง คุณควรจะคิดถึงเป้าหมายการเลิกบุหรี่ของคุณไว้นะ”
“คุณได้ทำตามแผนที่ตกลงกันไว้หรือเปล่าว่าเวลาอยากบุหรี่ต้องทำอย่างไร มาดูกันซิว่าอะไรที่คุณทำไม่ได้ จะได้หาวิธีอื่นมาใช้แทน เพื่อเลิกบุหรี่อีกทีนะ”
“ไม่เป็นไรนะ เริ่มต้นใหม่ได้ทุกเมื่อ”
18. ท่านคิดว่าผู้ป่วยรายใดต่อไปนี้ที่มีการติดนิโคตินรุนแรง
ผู้ป่วยที่ตรวจพบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกเท่ากับ 8 PPM
ผู้ป่วยที่ตรวจพบนิโคตินในปัสสาวะ 20 ng /mL
ผู้ป่วยสูบบุหรี่ขณะที่มานอนรอรับการผ่าตัดไส้เลื่อนที่โรงท่าน
ผู้ป่วยสูบบุหรี่ 20 มวน/ วัน
ผู้ป่วยสูบบุหรี่ทันทีหลังตื่นนอน
19. ผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นความดันโลหิตสูงและสูบบุหรี่วันละ 10 มวน ท่านประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยคิดจะเลิกบุหรี่ใน 6 เดือนข้างหน้า ท่านจะสนทนาให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างไรเพื่อจูงใจให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่เร็วขึ้น
“คุณต้องเลิกบุหรี่นะเพราะคุณเป็นความดันโลหิตสูง มันเสี่ยงมากที่คุณจะเป็นอัมพาต”
“คุณลองคิดดูนะสมมุติว่าคุณเลิกบุหรี่ อะไรจะเกิดขึ้นกับคุณทั้งในด้านที่ดีๆและด้านที่แย่ๆ”
“ดีนะที่คุณคิดเลิกบุหรี่ ทำไมไม่เลิกเสียตอนนี้เลย ยิ่งเลิกเร็วยิ่งดีต่อสุขภาพของคุณนะ”
“เพราะอะไรทำให้คุณรออีก 6 เดือนถึงจะเลิกบุหรี่”
“ดีเลยที่คุณคิดเลิกบุหรี่ ท่านจะช่วยคุณวางแผนเพื่อเตรียมตัวเลิกบุหรี่กันนะ"
20. เด็กชายอายุ 12 ปี อยู่กับยาย พ่อแม่เลิกกัน แม่มาทำงานที่กรุงเทพส่งเงินมาให้ยาย เด็กมาที่โรงพยาบาลของท่านด้วยอาการเจ็บคอ ท่านได้กลิ่นบุหรี่จากตัวเด็กจึงซักประวัติ พบว่าเด็กสูบบุหรี่วันละ 8-10 มวน และมีเพื่อนเป็นกลุ่มสูบบุหรี่เหมือนกัน ท่านแนะนำให้เด็กเลิกบุหรี่ เด็กพูดว่า “บุหรี่พาผมไปหาเพื่อน ถ้าผมเลิกบุหรี่แล้วผมจะเป็นอย่างไร” ท่านจะสนทนากับเด็กคนนี้อย่างไรที่ โดยใช้หลักการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่
หนูก็หาเพื่อนกลุ่มอื่น หาเพื่อนกลุ่มที่เขาเป็นเด็กเรียนซิ
หนูควรคิดถึงยายนะ ถ้ายายรู้ว่าหนูสูบบุหรี่ยายคงเสียใจ
หนูเก่งนะที่กล้าพูดเรื่องสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เด็กคนอื่นไม่กล้าพูดเรื่องนี้
หนูมีอาการเจ็บคอ ส่วนหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เป็นเพราะบุหรี่ 10 มวนที่หนูสูบนี่นะ ที่จะทำให้หนูเจ็บป่วย เป็นภาระให้ยายดูแลอีก
ดูเหมือนหนูคิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้หนูมีเพื่อน และกังวลว่าจะไม่มีเพื่อนถ้าเลิกสูบบุหรี่
ส่งคำตอบ
TOP